วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา
Educational Innovation
ความหมายของนวัตกรรม
หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลา และแรงงานได้ด้วย
ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา
การศึกษาจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้น นำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษาเกิดจากสาเหตุใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้
1. การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เป็นไปอย่างรวดเร็ว นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนให้สามารถสอนได้จำนวนคนที่มากขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว การเรียนการสอนจึงตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัด นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้
3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้ม ของการเรียนรู้ไดด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นวัตกรรมการศึกษาที่ตอบสนองผู้เรียนตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน
4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม การสื่อสารไร้พรมแดน การสร้างแหล่งเรียนรู้ทางการศึกษาที่ทำให้ไม่เลือกกลุ่ม ผู้เรียน เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anyone any where Any time)
ขอบข่ายของนวัตกรรม
วิธีการเรียนการสอน เทคนิควิธีการสอน การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การใช้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการออกแบบหลักสูตรให้มีการบูรณาการให้สอดคล้องกับการวัดผลแบบใหม่ ดังนี้
1. การจัดการการเรื่องการสอยด้วยวิธีการใหม่ ๆ
2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
3. การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตนเอง
5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ ๆ
6. การจัดการด้านวัดผลแบบใหม่ ๆ
นวัตกรรมทางการศึกษา ส่งผลให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เกิดจากการศึกษาสภาพปัญหา และความเหมาะสมในการพัฒนา นวัตกรรมทางการศึกษาให้มีรูปแบบที่เหมาะสมกับการจัดการเรียน การศึกษาสมัยใหม่
ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ที่ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยประหยัดเวลาในการเรียน
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันทีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
2. ความพร้อม (Readiness)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา (Scheduling)
4. ประสิทธิภาพในการเรียน (Learning Performance)
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษาประกอบด้วย
ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
1. การเรียนแบบไมแบ่งชั้น (Non-Graded School)
2. แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
3. เครื่องสอน (Teaching Machine)
4. การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
5. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
6. เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
ความพร้อม (Readiness)
1. ศูนย์การเรียน (Learning Center)
2. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
3. การปรับปรุงการสอน 3 ระยะ (Instructional Development in 3 Phases)
การใช้เวลาเพื่อการศึกษา (Scheduling)
1. การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
2. มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
3. แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
4. การเรียนทางไปรษณีย์ (Post mail Learning)
ประสิทธิภาพในการเรียน (Learning Performance)
1. มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
2. การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ (Learning via radio or TV)
3. การเรียนทางไปรษณีย์ (Post mail Learning)
4. แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
5. ชุดการเรียน (Learning Toolkits)
การจัดการนวัตกรรมการศึกษา
1. e-learning
2. ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom)
3. การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
4. การจัดกาเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
5. มิติใหม่แห่งการศึกษาไร้พรมแดน
6. สื่อหลายมิติ (Hypermedia)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น